Posted by: โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง | 09/09/2010

ข้อมูลทั่วไปโรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง

เป็นเครือข่ายบริการสุขภาพแบบองค์รวมที่มีคุณภาพสอดคล้องกับวัฒนธรรมพื้นที่

กว่าจะมาเป็นโรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง

โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวงเกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและมูลนิธิทอมดูรีย์ เอริเทจ ภายใต้ชื่อ “โรงพยาบาลสาขาเทอดไทย” โดยใช้อาคารเดิมในหมู่บ้าน เป็นอาคารสำนักงาน เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2529 เป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง
ปี 2534 ได้รับโอนเข้าเป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ปี 2536 อำเภอแม่ฟ้าหลวง ได้แยกออกจากอำเภอแม่จัน เป็นกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง โรงพยาบาลได้โอนมาอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่ฟ้าหลวง
ปี 2538 ได้ย้ายสถานที่มาก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ ได้ชื่อว่าโรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2539

ปัจจุบันโรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวงได้ยกระดับเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง และดำเนินกิจกรรมคุณภาพอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด จนกระทั้งได้รับการรับรองคุณภาพ จากสถาบันและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

จุดเริ่มต้นของเรา

เนื่องจากโรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวงเป็นโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ในเขตชายแดน และทุรกันดาร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประชากรเป็นชาวไทยภูเขาและชนกลุ่มน้อย ซึ่งมีความหลากหลายด้าน เชื้อชาติ ศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม การคมนาคม การติดต่อสื่อสารค่อนข้างที่จะลำบาก จึงทำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการต่างๆ ของรัฐโรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวงเป็นหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในพื้นที่ได้เห็นความสำคัญของสภาพปัญหาดังกล่าว และในขณะนั้นแนวคิดเรื่องการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation) หรือเรียกกันติดปากสั้นๆ ว่า HA ยังไม่รู้จักในหมูเจ้าหน้าที่ แต่เมื่อเริ่มเปิดดำเนินการนั้นในช่วงแรกเจ้าหน้าที่รุ่นแรก (มีประมาณ 20 คน) ได้มีการระดมความคิด วาดฝันสิ่งที่อยากเห็นที่อยากเป็นสิ่งที่อยากทำสำหรับโรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวงขึ้น และนำมาเป็นนโยบายและเป้าหมายในการทำงานขององค์กรตลอดมา จนถึงปี 2547 ได้มีการปรับปรุงเป้าหมาย ให้มีความครอบคลุมและสอดคล้องกับพื้นที่ จนกระทั้งเป็นวิสัยทัศน์พันธกิจของโรงพยาบาลในปัจจุบัน และโรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวงได้มีการจัดโครงสร้างองค์กรให้เป็นแนวราบเพื่อเอื้อต่อการทำงาน ทั้งประจำและงานพัฒนาคุณภาพ ถือว่าเป็นองค์กรแห่งการกระจายอำนาจที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงควาคิดเห็นและแสดงศักยภาพ โดยผ่านระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ของโรงพยาบาล

ระบบการสื่อสารของโรงพยาบาล

1.ระบบการสื่อสารหลัก – การประชุม
1.1 การประชุมคณะกรรมการบริหาร
1.2 การประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารกรภายใน ซึ่งมีตัวแทนจากทุกฝ่ายเข้าร่วม
1.3 การประชุมคณะกรรมการการพัฒนาสุขภาพชุมชน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานด้านชุมชน ตัวแทนจากวิชาชีพและผู้แทนจากชุมชน
1.4 การปจะชุมเจ้าหน้าที่ประจำเดือน
1.5 การประกาศ การประชาสัมพันธ์
2.การสื่อสารย่อย
2.1 Morning Talk
2.2 Walk Around
2.3 Meeting Conferece
2.5 แบบบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน
2.6 แบบรายงานเหตุการณ์
2.7 ตู้รับความคิดเห็น เช่น ตู้ปณ.ผอ.,ตู้ปณ หัวหน้ากลุ่มงาน,ตู้ปณ ความห่วงใย

สิ่งที่ภาคภูมิใจ

1. ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลจากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลเมื่อปี 2544 และผ่านการรับรองการเป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกและลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
2. เป็นสถานที่ศึกษาดูงานด้านคุณภาพสำหรับโรงพยาบาลพื้นที่พิเศษ
3. เป็นตัวแทนประชาชนในด้านการรักษาพยาบาล และดูแลสุขภาพ (Patinent Advocate)
4. ระบบสร้างแรงจูงใจเจ้าหน้าที่
– คนดีของเรา
– บุคคลากรในดวงใจ
– บุคคลากรดีเด่น
– โบนัสประจำปี
– ชมรมศิษย์เก่าโรงพยาบาล
– บริการรับ – ส่งเจ้าหน้าที่
– โครงการเมื่อญาติเราป่วย
– อาหารกลางวันสำหรับเจ้าหน้าที่
– ระบบประเมินผลงาน
– ระบบการพัฒนาบุคคลากร
– มีล่ามเพื่อช่วยในการติดต่อสื่อสาร
– เจ้าหน้าที่มีความสามัคคี

ในชีวิตเราทุกคน
คงเคยผ่านพบมิตรภาพที่แสนดี
แต่จะมีกี่คนที่รักษามันคงมั่นไม่ไหวหวั่น
วันคืนแห่งชีวิตกลืนกิน และฉุดดึงเรารุดไป
หันกลับมามองข้างหลังอีกทีอาจเศร้าใจ
หากพบว่าคนที่เราไว้ใจ
ไม่มีใครเดินตามเรามาอีกแล้ว
ไม่ออกเดินหน้า
เพาระเกรงว่าฉันจะลืมเธอ
ไม่อยากตามหลังเช่นกัน
กลัวเธอทำฉันหล่นหาย
อยากให้เราเดินเคียงกันไป
อย่างอุ่นใจ – มั้นใจ
ว่าตลอดการเดินทางของชีวิตอันยาวไกล
เรายังมีกันและกันไปตลอดทาง

 ข้อมูลทั่วไปโรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง

ก.ข้อมูลทั่วไป

โรงพยาบาล แม่ฟ้าหลวง

ที่อยู่สำหรับติดต่อทางไปรษณีย์ ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ตู้ ปณ.69 แม่จัน 57110 โทรศัพท์ (053) 730191, 765402, 01 4607280 โทรสาร (053) 765402

เจ้าของ/ต้นสังกัด

โรงพยาบาลรัฐบาล
ต้นสังกัดในส่วนกลาง (กรม/กระทรวง) สังกัดกระทรวงสาธารณสุข1. ข้อมูลโรงพยาบาล (เพื่อการติดต่อสื่อสาร)
ตันสังกัดในพื้นที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย

ลักษณะบริการ

(ข้อมูลส่วนนี้จะช่วยกำหนดหัวข้อมาตรฐานที่ใช้ในการประเมินและผู้เยี่ยมสำรวจที่เหมาะสม) จำนวนเตียงผู้ป่วยในที่เปิดบริการ 22 เตียง
ระดับของการให้บริการ โรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง
ลักษณะของผู้ป่วยที่ให้การดูแล ผู้ป่วยทั่วไป

ผู้บริหาร

ตำแหน่ง ชื่อ โทรศัพท์/โทรสาร “
ผู้อำนวยการ พญ.นงนุช มารินทร์ (053) 730191-002
ประธานองค์กรแพทย์ นพ.ชนะ จงโชคดี (053) 730191-011
หัวหน้าพยาบาล นส.นฤมล คำเหลือง (053) 730191-022

ผู้ประสานงาน

ชื่อ นางวาสนา วงศ์นุปิง ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ 5
นางสาวปาริชาติ ลุนทา ตำแหน่ง ทันตแพทย์ 5
หน่วยงาน งานผู้ป่วยในโทรศัพท์ (053) 730191-010 หรือ 014 โทรสาร 053-765402

เป้าหมายเวลาโดยประมาณ

การส่งแบบประเมินตนเองให้ พรพ. เดือน สิงหาคม พ.ศ 2546
การเยี่ยมสำรวจเพื่อขอรับรองครั้งต่อไป เดือน ตุลาคม พ.ศ 2546
( Re-Accreditation Survey)

กำลังคน

แพทย์ แพทย์ทั่วไป 3 คน
ทันตแพทย์ 1 คน

บุคลากรสาขาอื่น

สาขา Full time (คน) Part time (ชม/ สัปดาห์)
ระดับปริญญาตรี ต่ำกว่าปริญญาตรี
เภสัชกร 3 – –
พยาบาลวิชาชีพ 35 – –
พยาบาลเทคนิค 5 – –
เทคนิคการแพทย์ – – –
เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ – 1 –
เจ้าพนักงานเภสัชกรรม – 2 –
เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข – 1 –
รังสีเทคนิค – – –
ลูกจ้างประจำ – 9 –
ลูกจ้างชั่วคราว 4 28 –

ปัจจุบันคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งแล้วดังนี้
1. คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล
2. คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการภายใน
3. คณะกรรมการพัฒนาสุขภาพชุมชน
4. คณะกรรมการบำบัดยาเสพติด ด้วยวิธีจิตสังคมบำบัด (Metrix)
5. คณะกรรมการตรวจสอบภายในระบบการเงิน และการบัญชี
6. คณะกรรมการตรวจสอบภายในระบบพัสดุ
7. คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด (PTC)
8. คณะกรรมการสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์
9. คณะกรรมการเก็บรักษาเงิน
10. คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
11. คณะกรรมการอนามัยแม่และเด็กอำเภอแม่ฟ้าหลวง
12. คณะกรรมการโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า
13. คณะอนุกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ / ร้องเรียน อำเภอแม่ฟ้าหลวง

Advertisement

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

หมวดหมู่

%d bloggers like this: